วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

Passacaglia and chaconne

Passacaglia and chaconne เป็นลักษณะการประพันธ์ดนตรีที่นิยมมากในประเทศสเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี ในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยจะมีวิธีการเดินคอร์ด Bass-Ostinato หรือ Ground Bass คือใช้กลุ่มโนต้และคอร์ดซ้ำๆ ยืนพื้นไว้และมีการแปรทำนองไปเรื่อยๆ และมักเขียนในจังหวะ ¾ โดยมักเป็นการบรรเลงของดนตรีประกอบสลับกันระหว่างการเต้นและการร้อง ในช่วงแรกมักถูกประพันธ์สำหรับ guitar, voice and continuo , keyboard และวง chamber ส่วน Chaconne คือเพลงเต้นรำ หรือเพลงบรรเลงของฝรั่งเศสในยุคบาโรค มีแนวเบสยืนพื้นเป็นหลัก มีการแปรทำนองในแนวอื่น และมีอัตราจังหวะเป็นสามเหมือนกับ Passacaglia แต่ต่างกันตรงที่จังหวะจะช้ากว่า ส่วนในฝรั่งเศสและเยอรมันความแตกต่างของ Passacaglia และ chaconne ยังไม่แน่ชัดนัก
ในช่วงหลังปี 1740 Chaconne ได้รับความนิยมมากกว่า Passacaglia มักถูกนำไปแต่งสำหลับดนตรีบรรเลงเดี่ยว และ chamber music อีกด้วย หลังจากยุคบาโรค การประพันธ์เพลงแบบ Chaconne ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก แต่ยังปรากฏอยู่ในบทประพันธ์สำคัญๆ ในยุคหลังๆต่อมา ตัวอย่างที่สำคัญ "Les plaisirs ont choisi" from Jean-Baptiste Lully's opera Armide (1686) , "When I am Laid in Earth", in Henry Purcell's Dido and Aeneas และ "Piango, gemo, sospiro" by Antonio Vivaldi เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Reformation, Martin Luther และดนตรีตะวันตก

-การปฏิรูปศาสนา (Protestant Reformation)
การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กระแสใหญ่ๆคือ 1. การปฏิรูปภายนอกที่แบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น 2 นิกายคือ โรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ 2. การปฏิรูปภายใน ที่แก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนา และสถาบันสันตะปาปา เพื่อต่อสู้ไม่ให้ชาวยุโรปหันไปนิยมนิกายโปแตสแตนท์ที่เกิดขึ้นใหม่
การปฏิรูปศาสนานั้นได้มีการเริ่มมาจากความไม่พอใจของสงฆ์ที่มีธรรมะ และสามัญชนที่ผิดหวังในสถาบันศาสนา ประกอบกับมีการผันแปรทางการเมือง ทัศนคติทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมในศาสนากล้าที่จะประกาศตนออกจากสถาบันศาสนา โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อชะตากรรมแบบ “ลอยแพ” ของสังคมในยุคกลางอีกต่อไป
จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา
1. ผลงานวิทยานิพนธ์ “เทวนคร” (City of God)ของออกัสตินแห่งเมืองฮิปโป ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูป
2. ขบวนการฮุสไซท์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามจอห์น ฮุส (John Huss) ชื่อหลักการ Utraquism คือ ฆราวาสมีสิทธิเช่นเดียวกับสงฆ์ในพิธีรับศีลมหาสนิท ที่จะรับทั้งขนมปังและเหล้า โดยในสมัยนั้นฆราวาสจะรับได้เพียงขนมปังและน้ำเท่านั้น ซึ่งเบื้องหลังคือการกดดันให้สถาบันสันตะปาปา และคณะกรรมาธิการศาสนา (Council Authority) ยอมรับว่าทั้งบรรพชิตและฆราวาสนั้นเท่าเทียมกัน และพระคัมภีร์เท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในศาสนกิจ โดยภายหลังการปฏิรูปศาสนากลุ่มฮัสไซท์ได้เข้ารวมกับพวกติดตามลูเทอร์
3. ขบวนการลอล์ลาร์ด (The Lollard Movement) ของจอห์น วิคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ที่เน้นการปรับปรุงศาสนาให้เข้ากับความต้องการของสามัญชน เน้นการเทศนาสั่งสอนมากกว่าการรับศีล ต่อต้านการสารภาพบาป การสวดมนต์ให้แก่ผู้สิ้นชีวิตแล้ว การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ การเชื่อเครื่องรางของขลัง และเริ่มการใช้พระคัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาพื้นเมือง เพื่อให้ชาวบ้านได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงพระที่ใช้พระคัมภีร์ภาษาละติน โดยขบวนการลอล์ลาร์ดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการปฏิรูปศาสนาระยะแรกภายใต้มาร์ติน ลูเทอร์
Martin Luther และการการปฏิรูปศาสนา
Martin Luther เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 ที่แซกซอน ประเทศเยอรมันนี ซึ่งเดิมทีเป็นบุตรของคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร้ำเรียนการศึกษาระดับสูงจนจบปริญญาเอก และมีโอกาสเข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และได้เห็นว่าสังฆราชมีชีวิตฟุ้งเฟ้อจนเกินไป จึงเห็นควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา เมื่อเขากลับไปเยอรมัน เขาได้เขียนเอกสารโจมตีการกระทำชั่วร้ายต่างๆนานา มาติดที่ประตูของวิหารวิทเทนเบิร์ก ในขณะนั้น Luther ได้รับการสนับสนุนจากอิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนี ซึ่งให้ Lutherไปเก็บตัวอยู่ในปราสาท Wartburg เพื่อความปลอดภัย และที่นั่นเอง Luther ได้แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษายอรมันเป็นครั้งแรก ทำให้นิกายลูเธอร์แรน และได้กระจายคำสอน ไปทั่วเยอรมนี ด้วยความช่วยเหลือจากบรรดาเจ้าครองแคว้น ที่ต้องการจะหลุดพ้นจากอำนาจของจักรพรรดิที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ ความคิดของ Luther จึงได้รับการสนับสนุนและได้แพ่หลาย ออกไปทั่วยุโรป การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศขับไล่ Luther (1521)
แนวคิดพื้นฐานของ Martin Luther มีอยู่ว่ามนุษย์สามารถหลุดพ้นก็โดยมีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นและเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ต้องการพระหรือการบริการของศาสนจักรคาทอลิกมาคั่นขวางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจถึงคำสอนได้อย่างแท้จริงและไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่าพระผู้ละโมบที่ต้องการหาประโยชน์จากศาสนา ทำให้นอกจากจะมีการแปรคำสอนแล้วเป็นภาษาอื่นแล้ว ยังไดจัดทำเพลงและพิธีกรรมใหม่ใหม่ทั้งหมด โดยยึดหลักในการทำให้ผู้คนเข้าใจหลักของคำสอนอย่างแท้จริง บท Chorale ของ Luther ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Ein’feste burg ist unser Gott (A mighty fortressis our God) Chorale บทนี้เป็นบทที่สำคัญมากที่สุด และส่งอิทธิพลไปยังนักประพันธ์หลายๆคนที่นำ Chorale บทนี้มาใช้ในงานของตนเพื่อสื่อถึงแนวคิดทางศาสนาต่างๆ

Alessandro Scarlatti

Alessandro Scarlatti
Alessandro Scarlatti เป็นนักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนในยุคบาโรคตอนปลาย มีชื่อเสียงมาก จากการประพันธ์เพลงร้อง Alessandro Scarlatti เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ที่เมือง Palermo ประเทศ Sicily ในครอบครัวนักดนตรีอาชีพ ต่อมาในปี ค.ศ.1672 Alessandro Scarlatti ได้เดินทางไปกรุงโรม และได้เข้าเรียนดนตรีกับ Giacomo Cerissimi ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชาวอิตาเลียน ที่มีชื่อเสียง และมีความสำคัญในบทเพลงประเภท Oratorio และ Cantata 2ปีต่อมา Cerissimi ก็ถึงแก่กรรม Scarlatti จึงไปเรียนดนตรีต่อกับ Giovanni Legrenzi และ Alessandro Stradella นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียน
Alessandro Scarlatti เริ่มมีชื่อเสียงจากการออกแสดง Opera เรื่องแรกของเขา L’errore Innocente ซึ่งแสดงครั้งแรกที่กรุงโรม เมื่อ ค.ศ. 1679 จาก Opera เรื่องนี้ ทำให้เขาได้มีโอกาสทำงานเป็นผู้กำกับวงดนตรีประจำโรงละครส่วนพระองค์ ให้กับพระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดน ได้เสด็จไปทอดพระเนตร และพระองค์ทรงโปรดในผลงานของเขามาก จึงตกลงจ้างเขาให้เป็นผู้กำกับวงดนตรีประจำโรงละครส่วนพระองค์ และ Scarlatti ได้ทำงานอยู่ที่นั่น 4 ปี (ค.ศ.1680-1684) ระหว่างนั้นเขาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง L’honesta negli amori (ค.ศ.1680) และII Pompeo (ค.ศ.1684) หลังจากออกแสดงเรื่องนี้ เขาก็ได้รับตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรีของราชสำนักเมืองเนเปิลส์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1684-1702 หลังจากที่เขาทำงานอยู่ที่นั้นถึง 18 ปี หลังจากนั้นเขาก็ย้ายไปทำงานในที่ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานประพันธ์ Opera และเพลงร้องต่างๆ รวมถึงการพัฒนา Form ABA เรียกว่า Da capo aria ซึ่งจะมีอิทธิพลกับเพลงประเภท Concerto, Sonata และ Symphony เขาก็ถึงแก่กรรมที่เมือง Naplies ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1725
ลูกศิษย์ของ Alessandro Scarlatti มีชื่อเสียงอยู่หลายคน เช่น Adolph Hasse , Francesco Durante นอกจากนี้ Scarlatti ได้ถูกยกย่องว่าเป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน Neopolitan School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในด้านดนตรีและการประพันธ์เพลง

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553


Gioseffo Zarlino (1517-1590)

เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1517 ในเมือง Chioggia ประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1590 Gioseffo Zarlino เป็นนักทฤษฎีและนักประพันธ์ชาวอิตาลี ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนา วิธีการประพันธ์ counterpoint ของศตวรรษที่ 16 (ช่วงปลาย Renaissance) ในตอนต้น Zarlino ได้ถูกฝึกและเรียนรู้ความเชื่อทางศาสนาและดนตรีจาก Franciscans จนถึงช่วงต้นของปี ค.ศ.1537 จนกระทั่ง 1541 Zarlino ได้เดินทางไปเรียนดนตรีกับ Adrian Willaert ที่ maestro di cappella of St. Mark's จนในปี ค.ศ.1565 เขาได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง maestro di cappella of St.Marks ซึ่งเป็นตำแหน่งทางดนตรีที่ทรงเกียรติอย่างสูงในอิตาลี จนกระทั่งเขาเสียชีวิต ในช่วงนี้ Zarlino มีลูกศิษฐ์ที่สำคัญคือ Claudio Merulo, Girolamo Diruta, Giovanni Croce, Vincenzo Galilei และ Giovanni Artusi

Gioseffo Zarlino มีความชำนานในการเขียน mass และ motet ซึ่งแสดงถึงการมี ทักษะในการใช้ counterpoint อย่างสูง อีกทั้งยังมีผลงานที่สำคัญคือ ตำราทฤษฎีดนตรี istitutioni harmoniche ตีพิมพ์ในปี 1558 โดยอธิบายถึงพื้นฐานของดนตรีในทางคณิตศาสตร์ และใช้คำว่า imperfect consonance กับขั้นคู่ที่เคยเป็น dissonance มาก่อนในคู่ 6, 3 และเป็นคนแรกที่จำแนกความสำคัญของ triad อีกทั้งยังมีตำรา Diamostrationi harmoniche เขียนขึ้นในปี 1571 ว่าด้วยเรื่องวิธีคิด mode แบบใหม่ ต่อมาตำราทฤษฎีของเขาได้ถูกรวบรวมโดย Francesco Francesch และเผยแพร่ไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมา และแนวคิดด้านเสียงประสานแบบนั้เอง ได้ส่งอิทธิพลไปยังดนตรีในยุคบาโรคต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


Guido of Arezzo
นักบวชและนักทฤษฎีดนตรีในยุคกลาง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 991/992 – ถึงแก่กรรมหลังปี ค.ศ. 1033 ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโนต้ดนตรีที่เป็นบรรทัดสมัยใหม่ ซึ่งใช้แทน ระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) และยังได้เขียน Micrologus ซึ่งส่ง อิทธิพลอย่างสูงต่อพัฒนาการของการประสานเสียง
ในช่วงแรกๆนั้น เขาเป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงฆ์ที่ปอมโปซา ในขณะที่พำนักอยู่ที่นั่นเขา ได้สังเกตเห็นถึงความยากลำบากของนักร้องในการที่จะต้องจำบทเพลง Gregorain Chant จำงได้คิด หาวิธีการที่จะใช้สอนนักร้องประสานเสียงให้สามารถร้องได้ในเวลาอันสั้น จนกลายมาเป็นวิธีที่ได้ รับความนิยมอย่างรวดเร็วในแถบตอนเหนือของอิตาลี แต่พระรูปอื่นๆในโบสกลับไม่พอใจ เขาจึง ย้ายไปอยู่ที่เมือง Arezzo และที่เมือง Arezzo นั้นเองเขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่นการเขียน บรรทัด 5 เส้นและ ระบบ Solfeggio ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบันไดเสียง โด เร มี ในปัจจุบัน โดยแต่ ละคำที่นำมาใช้ Guido ได้นำมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวี ซึ่งอาจมีรากฐานมาจาก งานสมัยแรกๆของเขา Guido ยังเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโนต้แบบ Guidonian Hand ซึ่งเป็นเทคนิค ในการช่วยจำโนต้ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยการตั้งชื่อโนต้ให้สัมพันธ์กับส่วนต่างบนมือ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Ambrosian chant [Milanese chant]


Ambrosian chant [Milanese chant]
เป็นบทเพลงที่รู้จักกันดี ที่เกี่ยวข้องกับ Milan และเป็นหนึ่งในสองประเภทของเพลงที่รู้จักกันดีของ Latin Church ซึ่งต่อมาได้ถ่ายทอดอย่างสมบูรณ์ทั้งในแง่ของระดับเสียงและความแม่นยำของการบรรทึกโนต้ ทั้งหมดนั้นได้ถูกแทนที่โดย Gregorian chant ก่อนที่จะได้มีการบันทึกเอาไว้ สึ่งที่เหลืออยู่ของ Ambrosian music คือ ได้กำหนดความสำคัญของ Milan ด้วยประวัติความเป็นมา ของ Byzantine
โดยทั้วไปแล้ว Ambrosian chant มักเกี่ยวข้องกับหน้าที่ในพิธีกรรม Ambrosian Rite ซึ่งมี ความใกล้ชิดกับ พิธีสวด “Gallic” ในทางตอนเหนือ มีลักษณะเป็นแบบร้องแนวเดียวไม่มีดนตรีประกอบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของ Roman Catholic และจะมีโดรนร้องไปด้วย ส่วนมากมักจะถูกร้องโดยผู้ชาย และบ่อยครั้งที่จะมีการกำหนดผู้ที่จะต้องร้องเอาไว้ โดยทั้วไป Ambrosian chant จะมีความหลากหลายมากกว่า Gregorian ในแง่ของขนาดและโครงสร้าง ใน Ambrosian chant จะมีการใช้เทคนิค Melismatic (หนึ่ง คำมีหลายโนต้) มีความเป็นอิสระในการประพันธ์และโชว์ Melodic structure ทำนองของ Ambrosian chant จะมีลักษณะที่ราบรื่นกว่า chant แบบอื่นๆ จะให้ความรู้สึกเหมือนคลื่น คำที่นำมาใช้จะมาจาก คำภีร์ไบเบิล
อย่างไรก็ตาม Ambrosian chant ได้เริ่มนำพาบทสวดของตะวันออก ไปให้ตะวันตกได้รับรู้ และ Ambrosian chant ยังได้ทำหน้าที่สองอย่างที่สำคัญในพิธี Ambrosian liturgy คือเป็นเพลงสวด ในพิธี และยังทำหน้าที่เป็นสิ่งที่ควบคุมความต่อเนื่องของพิธี Mass อีกด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=PU4ycRzwqDc

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552