วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


Guido of Arezzo
นักบวชและนักทฤษฎีดนตรีในยุคกลาง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 991/992 – ถึงแก่กรรมหลังปี ค.ศ. 1033 ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโนต้ดนตรีที่เป็นบรรทัดสมัยใหม่ ซึ่งใช้แทน ระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) และยังได้เขียน Micrologus ซึ่งส่ง อิทธิพลอย่างสูงต่อพัฒนาการของการประสานเสียง
ในช่วงแรกๆนั้น เขาเป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงฆ์ที่ปอมโปซา ในขณะที่พำนักอยู่ที่นั่นเขา ได้สังเกตเห็นถึงความยากลำบากของนักร้องในการที่จะต้องจำบทเพลง Gregorain Chant จำงได้คิด หาวิธีการที่จะใช้สอนนักร้องประสานเสียงให้สามารถร้องได้ในเวลาอันสั้น จนกลายมาเป็นวิธีที่ได้ รับความนิยมอย่างรวดเร็วในแถบตอนเหนือของอิตาลี แต่พระรูปอื่นๆในโบสกลับไม่พอใจ เขาจึง ย้ายไปอยู่ที่เมือง Arezzo และที่เมือง Arezzo นั้นเองเขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่นการเขียน บรรทัด 5 เส้นและ ระบบ Solfeggio ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบันไดเสียง โด เร มี ในปัจจุบัน โดยแต่ ละคำที่นำมาใช้ Guido ได้นำมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวี ซึ่งอาจมีรากฐานมาจาก งานสมัยแรกๆของเขา Guido ยังเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโนต้แบบ Guidonian Hand ซึ่งเป็นเทคนิค ในการช่วยจำโนต้ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยการตั้งชื่อโนต้ให้สัมพันธ์กับส่วนต่างบนมือ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Ambrosian chant [Milanese chant]


Ambrosian chant [Milanese chant]
เป็นบทเพลงที่รู้จักกันดี ที่เกี่ยวข้องกับ Milan และเป็นหนึ่งในสองประเภทของเพลงที่รู้จักกันดีของ Latin Church ซึ่งต่อมาได้ถ่ายทอดอย่างสมบูรณ์ทั้งในแง่ของระดับเสียงและความแม่นยำของการบรรทึกโนต้ ทั้งหมดนั้นได้ถูกแทนที่โดย Gregorian chant ก่อนที่จะได้มีการบันทึกเอาไว้ สึ่งที่เหลืออยู่ของ Ambrosian music คือ ได้กำหนดความสำคัญของ Milan ด้วยประวัติความเป็นมา ของ Byzantine
โดยทั้วไปแล้ว Ambrosian chant มักเกี่ยวข้องกับหน้าที่ในพิธีกรรม Ambrosian Rite ซึ่งมี ความใกล้ชิดกับ พิธีสวด “Gallic” ในทางตอนเหนือ มีลักษณะเป็นแบบร้องแนวเดียวไม่มีดนตรีประกอบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของ Roman Catholic และจะมีโดรนร้องไปด้วย ส่วนมากมักจะถูกร้องโดยผู้ชาย และบ่อยครั้งที่จะมีการกำหนดผู้ที่จะต้องร้องเอาไว้ โดยทั้วไป Ambrosian chant จะมีความหลากหลายมากกว่า Gregorian ในแง่ของขนาดและโครงสร้าง ใน Ambrosian chant จะมีการใช้เทคนิค Melismatic (หนึ่ง คำมีหลายโนต้) มีความเป็นอิสระในการประพันธ์และโชว์ Melodic structure ทำนองของ Ambrosian chant จะมีลักษณะที่ราบรื่นกว่า chant แบบอื่นๆ จะให้ความรู้สึกเหมือนคลื่น คำที่นำมาใช้จะมาจาก คำภีร์ไบเบิล
อย่างไรก็ตาม Ambrosian chant ได้เริ่มนำพาบทสวดของตะวันออก ไปให้ตะวันตกได้รับรู้ และ Ambrosian chant ยังได้ทำหน้าที่สองอย่างที่สำคัญในพิธี Ambrosian liturgy คือเป็นเพลงสวด ในพิธี และยังทำหน้าที่เป็นสิ่งที่ควบคุมความต่อเนื่องของพิธี Mass อีกด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=PU4ycRzwqDc

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552